ความแตกต่างมันเป็นอย่างไรกันนะ
ก่อนอื่นเรื่องมันมีอยู่ว่าทาง Microsoft ผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows ที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกนั้น ได้ผลิตรุ่นของระบบปฏิบัติการวินโดว์ออกมาอยู่ 2 แบบด้วยกัน ซึ่งได้แก่ วินโดว์รุ่น 32 บิท และ 64 บิท เพื่อที่จะได้แยกการทำงานได้อย่างชัดเจน ซึ่ง KRuYoK จะสรุปง่ายๆ ดังนี้
Windows 32 bit (รหัส x86)
เป็นระบบดั้งเดิม ส่วนมาก จะเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานทั่วไป ใช้งานพื้นฐาน ตามสำนักงาน เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel, Microsoft PowerPoint รวมถึงการท่องโลกอินเทอร์เน็ตทั่วไป ไม่ได้ใช้งานประมวลผลเยอะๆ ซึ่งคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน ไม่นิยมใช้ 32 บิท แล้ว
ข้อดี
ไม่จำเป็นต้องมี RAM จำนวนมาก
การทำงานของ Windows กินทรัพยากรน้อยมากขั้นต่ำของ RAM คือ 1 GB เท่านั้น
ข้อเสีย
ไม่สามารถใช้งานโปรแกรมประเภท 64 บิท ได้
ไม่สามารถใส่ RAM มากกว่า 4 GB ได้ (เนื่องจาก Windows 32 bit นั้นจะเจอ RAM ได้มากสุดแค่ 4 GB เท่านั้น)
Windows 64 bit (รหัส x64)
เป็นระบบแบบใหม่ ส่วนมากนิยมใช้ในงานที่มีการประมวลผลหนักๆ และปัจจุบัน น่าจะใช้ 64 บิท เป็นส่วนใหญ่ เพราะว่าราคา CPU ปัจจุบันนั้น ราคาไม่แพงมาก ส่วนมากนิยม CPU ตั้งแต่ Intel Core i3 ขึ้นไป หรือ AMD Ryzen 3 ขึ้นไป ดังนั้น CPU ปัจจุบัน รองรับกับ Windows 64 bit อยู่แล้ว และ RAM ขั้นต่ำ ของปัจจุบัน เริ่มต้นที่ 4-8 GB ซึ่งเพียงพอต่อการติดตั้งระบบ 64 บิท ดังนั้น Windows 64 bit น่าจะเป็นพื้นฐานใน ปัจจุบันมากกว่า 32 bit นั่นเอง
ข้อดี
สามารถใช้โปรแกรม ประเภท 32 บิท ได้
สามารถเจอ RAM ได้มากกว่า 4 GB เป็นที่เรียบร้อย
การประมวลผลของโปรแกรมเร็วกว่า 32 บิท อย่างเห็นได้ชัด
ข้อเสีย
กินทรัพยากรหนักมาก ขึ้นต่ำของ RAM 2 GB จะใช้งานเลี้ยง Windows 64 bit ตลอดเวลาเพื่อรองรับการทำงานที่หนักขึ้น
โปรแกรมจะใช้งานเสถียร กว่าถ้าใช้โปรแกรม ที่ลงท้ายด้วย x64 เท่านั้น
ข้อสรุปว่า ถ้าซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ หรือ คอมพิวเตอร์ที่มีควรลง ประเภทไหนดี
เป็นคำถามโลกแตกกันเลยทีเดียวว่า เราควรติดตั้ง Windows 32 bit หรือ Windows 64 bit ดี
ดูที่ CPU ว่าเป็นอะไร ถ้า ตระกูล Intel Core i3, Intel Core i5, Inter Core i7 และ Inter Core i9 หรือ AMD RYZEN3, AMD RYZEN5, AMD RYZEN7 แนะนำลง Windows 64 bit
ดูที่ RAM ถ้ามีมากกว่า 4 GB อันนี้ควรลง Windows 64 bit อย่างมาก
ตรวจสอบ Software หลักที่ใช้งาน ถ้า Software ที่ใช้งานหลักๆ ที่ซื้อมา ไม่รองรับ Windows 64 bit จากข้อ 1 และ 2 ที่กล่าวมา ให้ลง Windows 32 bit ทันที แม้ประสิทธิภาพของ การทำงานจะลดลง แต่ Software หลักที่ใช้งานจริงๆ ไม่รองรับ จะทำอย่างไรได้ ก็ต้องยอมครับ
วิธีการตรวจสอบ Windows ที่ใช้ปัจจุบันกี่บิท
คลิกขวาที่ This PC แล้วเลือกเมนู Properties <รูปภาพ>
จะเจอกับหน้าต่าง System ให้ดูตรงหลัง System type : ว่าเป็น 32-bit หรือ 64-bit <รูปภาพ>
บทความนี้ มีเนื้อหาบางส่วน อ้างอิงจาก Website : http://itnews4u.com/windows-32bit-or-64-bit-different.html
ครูหยก
21 ก.พ.64
ซอฟต์แวร์ (อังกฤษ: software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง คือ ส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผมข้อมูล เป็นชุดคำสั่งที่บอกวิธีการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งตรงกันข้ามกับฮาร์ดแวร์ที่เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถจับต้องได้ ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมซอฟต์แวร์นั้น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ คือ ข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับการประมวลผลโดยระบบคอมพิวเตอร์ และ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์, ไลบรารี และ ข้อมูลที่ไม่สามารถเรียกใช้งานได้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อาทิ เอกสารออนไลน์หรือสื่อดิจิทัล คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจำเป็นต้องมีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ และหากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป จะไม่สามารถใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ได้
ในระดับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ต่ำที่สุด โค้ดปฏิบัติการนั้น ประกอบด้วย คำสั่งภาษาเครื่อง (machine language) ที่โปรเซสเซอร์ (processor) แต่ละตัวรองรับ โดยทั่วไปคือหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หรือ หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ภาษาเครื่อง ประกอบด้วย กลุ่มค่าไบนารี (เลขฐานสอง) ที่แสดงถึงคำสั่งของตัวประมวลผลที่ได้เปลี่ยนสถานะของคอมพิวเตอร์จากสถานะก่อนหน้า เช่น คำสั่งภาษาเครื่องอาจเปลี่ยนค่าที่จัดเก็บไว้ในตำแหน่งจัดเก็บเฉพาะในคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ใช้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยตรง หรือ คำสั่งนั้นอาจเป็นการเรียกอินพุตหรือเอาต์พุตอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถมองเห็นได้ เช่น การแสดงข้อความบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ โปรเซสเซอร์จะดำเนินการตามคำสั่ง ตามลำดับที่ระบุไว้ เว้นแต่จะได้รับคำสั่งให้ "ข้าม" ไปยังคำสั่งอื่น หรือ ระบบปฏิบัติการถูกขัดจังหวะ ในปี ค.ศ.2015 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อุปกรณ์สมาร์ทโฟน และ เซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่ มีหน่วยประมวลผลที่มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วย (่multiple execution unit) หรือโปรเซสเซอร์หลายตัว ทำการคำนวณร่วมกันและการประมวลผล ทำให้ส่วนโปรเซสเซอร์สามารถทำงานร่วมกันในเวลาพร้อม ๆ กัน (concurrent activity) มากกว่าระบบโปรเซสเซอร์ในอดีต
ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมระดับสูง (high-level programming language) ซึ่งง่ายกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าสำหรับโปรแกรมเมอร์ เพราะใกล้เคียงกับภาษาธรรมชาติที่มนุษย์ใช้มากกว่าภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องโดยใช้คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเตอร์พรีตเตอร์ (interpreter) หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซอฟต์แวร์อาจเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีระดับต่ำ (assembly language) ซึ่งมีความสอดคล้องกับคำสั่งภาษาเครื่องของคอมพิวเตอร์อย่างมาก และ ภาษาแอสเซมบลีจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องโดยใช้แอสเซมเบลอร์ (assembler)
นิรุกติศาสตร์
คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ
ความสัมพันธ์กับฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ เป็นชื่อเรียกเพื่อใช้เปรียบต่างกับฮาร์ดแวร์ ซึ่งเป็นลักษณะทางกายภาพในการเก็บและประมวลผลของซอฟต์แวร์ ในคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานในแรมและประมวลผลผ่านซีพียู
ประเภทของซอฟต์แวร์
การแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหลายแบบ เช่น
การแบ่งเชิงเทคนิค อาจแบ่งซอฟต์แวร์เป็น 3 ประเภทหลักคือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System/Infrastructure software) ใช้ในการทำให้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ได้ โดยรวมถึงระบบปฏิบัติการ ไดรเวอร์ และระบบหลักของคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
โปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดำเนินงานต่าง ๆ โดยทั่วไปเช่น โปรแกรมสำนักงาน ฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์เกม เว็บเบราว์เซอร์ โดยโปรแกรมประยุกต์จะมีจียูไอ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Tools/Utilities) ประกอบไปด้วยเครื่องมือช่วยให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมอื่น ๆ หรือโปรแกรมประยุกต์ได้ เครื่องมือต่าง ๆ ประกอบไปด้วย คอมไพเลอร์ อินเตอร์พรีเตอร์ ดีบักเกอร์
การแบ่งตามรูปแบบการส่งมอบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package software) ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดยคิดค่าบริการเป็น transaction หรือ license
ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเงินเดือน (Outsources software development) เป็นการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานเฉพาะกับงานประเภทต่าง ๆ เฉพาะกิจกรรมไป ส่วนใหญ่ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นี้จะเป็นของผู้ที่ว่าจ้างให้พัฒนาขึ้น
การแบ่งตามประเภทของการนำไปใช้งานหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการทั่วไป (Enterprise software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานเพื่อแก้ปัญหา/จัดการทรัพยากรของ บุคคล/องค์กร เช่น ซอฟต์แวร์บัญชี ซอฟต์แวร์จัดทำเอกสาร เป็นต้น
ซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (Mobile applications software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านระบบปฏิบัติการพิเศษบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมทางธุรกิจ (Business applications) เช่น Mobile banking, Mobile payment, GPS on Mobile, Mobile applications for business process management และ(2) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการและบันเทิง (Entertainment applications) ซึ่งรวมเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded System Software) เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งฝังอยู่ไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ระบบ GPRS ระบบทำความเย็นอัจริยะ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น
ส่วนการแยกประเภทของ ครูหยก
เป็นการแบ่งประเภทของ Software โดยอาจจะมีบางอย่างเกี่ยวข้องกับการแบ่ง แต่ การแบ่งประเภทนี้ จะใช้ Website ครูหยก ดอท คอม เป็นหลัก แต่ ผู้ที่เข้าอ่านบทความนี้ อีกจะใช้การแบ่งประเภท Style ครูหยก ก็ได้ ไม่ได้หวงอยู่แล้วครับ
แบ่งจากโปรแกรมที่ใช้งานเป็นหลัก
Graphic คือ โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับรูปถ่าย ภาพถ่าย ภาพวาด ทุกชนิด ทั้ง Vector หรือ Raster
Sound คือ โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับเสียง ทุกชนิด ตั้งแต่ DSD, WAVE, WMA, MP3, FLAC เป็นต้น
VDO คือ โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับภาพเคลื่อนไหวทุกชนิด
Multimedia คือ โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับ ภาพ+เสียง+ภาพเคลื่อนไหว รวมกันทั้งหมด
Utility คือ โปรแกรมอำนวยความสะดวก การแปลงไฟล์ การเข้าถึงข้อมูลต่างๆ รวมทั้ง ข้อมูลเกี่ยวกับการ Activate
Template คือ ไฟล์ที่อำนวยความสะดวกสำหรับการใช้งานทุกประเภท อาทิเช่น Photoshop, Word, PowerPoint เป็นต้น
บทความนี้ มีเนื้อหาบางส่วน อ้างอิงจาก Website : https://th.wikipedia.org/wiki/ซอฟต์แวร์
ครูหยก
21 ก.พ.64